Tag: PDA
Clinical presentation in infant with patent ductus arteriosus, Physiologic consideration and complication
อาการทางคลินิกที่ใช้วินิจฉัยการเกิด PDA ได้แก่ การตรวจพบอาการ 3 ใน 5 อย่าง ต่อไปนี้
- systolic murmur at upper left sterna border (ULSB)
- hyperactive precordium
- bounding pulses (full pulse)
- wide pulse pressure
- increased need for respiratory support and increased arterial carbon dioxide levels
สาหรับการวินิจฉัยที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งมีความไวและความแม่นยาสูง คือ Echocardiogram แต่ในทางปฏิบัติยังเป็นปัญหาเนื่องจากขาดเครื่องมือนี้ใน NICU จึงต้องอาศัยอาการทางคลินิกช่วยในการประเมิน
พยาธิสรีรวิทยา
ผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจแต่กำเนิด
VSDโรคหัวใจแต่กำเนิดเป็นโรคที่มีความผิดปกติของโครงสร้างในหัวใจหรือหลอดเลือด เกิดเนื่องจากโครงสร้างในหัวใจหรือหลอดเลือดมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจทำให้ทารกแสดงอาการตั้งแต่แรกเกิดหรือแสดงอาการและตรวจพบได้ในระยะต่อมาเมื่อเป็นเด็กเล็กหรือจนกระทั่งเป็นเด็กโตได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจแต่กำเนิด ประมาณ90 % คือไม่ทราบสาเหตุ มีเพียงที่10 % ที่ทราบสาเหตุ ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยได้แก่เกิดร่วมกับโรคทางพันธุกรรม จากการติดเชื้อหัดเยอรมันในหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในระหว่าง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ มารดาได้รับการฉายรังสีขณะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก มารดารับประทานยาบางชนิด สูบบุหรี่หรือดื่มสุราในขณะตั้งครรภ์ อุบัติการของโรคหัวใจแต่กำเนิดในประเทศไทยประมาณ 8: 1000 ชนิดที่พบบ่อยได้แก่ VSD ASD PDA PS และ TOF
continue reading