Tag: illness
Patent Ductus Arteriosus ในทารกแรกเกิด
PDA พบได้บ่อยในทารกแรกเกิดโดยเฉพาะทารกเกิดก่อนกำหนด และมีกลุ่มอาการหายใจลำบากรุนแรง ( severe respiratory distress syndrome ) พบบ่อยขึ้นในทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 1,000 กรัม ( extremely low birth weight ) ซึ่งมีอัตราการเกิด PDA สูงถึงร้อยละ 70
continue readingอายุของทารกแรกเกิดในระยะปริกำเนิด
นิยามคำศัพท์
ทารกแรกเกิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกเกิดก่อนกำหนดจะมีอายุที่จะต้องประเมินและเกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลที่หลากหลาย การให้คำนิยามของแต่ละอายุของทารกแรกเกิดอย่างชัดเจนและตรงกันในระหว่างสถาบันมีความสำคัญเพื่อนำไปใช้ในการประเมินพัฒนาการด้านระบบประสาท ( neurodevelopment ) เป็นแนวทางการรักษาพยาบาลในบางด้าน ตลอดจนเพื่อให้การติดตามและรายงานผลลัพธ์ด้านสุขภาพของทารกแรกเกิดมีความน่าเชื่อถือ
ภาวะติดเชื้อในระยะแรกในทารกแรกเกิด
พยาบาลกับการเฝ้าระวัง
ภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด (neonatal sepsis )เป็นกลุ่มอาการทางคลินิกที่เกิดจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตของทารกแรกเกิด ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุการตายและความพิการที่สำคัญในประเทศไทย ภาวะติดเชื้อในระยะแรก ( early sepsis ) เป็นภาวะที่การติดเชื้อนั้นเกิดขึ้นระหว่าง 72 ชั่วโมงหรือสัปดาห์แรกหลังเกิด ( Makhoul,et al,2002, Behrman, Kleigman&Jenson, 2003 ) ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากทารกได้รับเชื้อโรคจากร่างกายของมารดาซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายทารกได้ 4 ทางคือ1)เชื้อจากช่องคลอดเข้าไปในถุงน้ำคร่ำทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อที่สายสะดือและเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดของสายสะดือ 2)ทารกหายใจหรือกลืนเอาน้ำคร่ำที่มีเชื้อโรคปนอยู่ 3)เชื้อโรคติดอยู่กับผิวหนังหรือเยื่อบุต่างๆ ของทารกขณะผ่านช่องคลอดของมารดา 4) ทารกได้รับเชื้อจากมารดาที่มีการติดเชื้อในกระแสโลหิตในระยะก่อนคลอดผ่านทางรก เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของภาวะติดเชื้อในระยะแรกที่พบบ่อยคือแบคทีเรียกลุ่มกรัมบวก ได้แก่ group B streptococci (GBS) ,enterococci, S.pneumoniae, S.aureus และแบคทีเรียกลุ่มกรัมลบได้แก่ E.coli, K. pneumonia
continue readingClinical presentation in infant with patent ductus arteriosus, Physiologic consideration and complication
อาการทางคลินิกที่ใช้วินิจฉัยการเกิด PDA ได้แก่ การตรวจพบอาการ 3 ใน 5 อย่าง ต่อไปนี้
- systolic murmur at upper left sterna border (ULSB)
- hyperactive precordium
- bounding pulses (full pulse)
- wide pulse pressure
- increased need for respiratory support and increased arterial carbon dioxide levels
สาหรับการวินิจฉัยที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งมีความไวและความแม่นยาสูง คือ Echocardiogram แต่ในทางปฏิบัติยังเป็นปัญหาเนื่องจากขาดเครื่องมือนี้ใน NICU จึงต้องอาศัยอาการทางคลินิกช่วยในการประเมิน
พยาธิสรีรวิทยา
อาการชักในทารกแรกเกิด (Neonatal seizure)
อาการชัก เป็นอาการที่มีความสำคัญมากอย่างหนึ่ง และพบได้บ่อยในทารกแรกเกิด โดยเฉพาะทารกในหออภิบาลทารกแรกเกิด โดยพบได้ร้อยละ 25 ของทารกที่รับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิด ซึ่งร้อยละ 85 เกิดขึ้นภายในอายุ 15 วัน และร้อยละ 65 เกิดขึ้นระหว่างอายุ 2 – 5 วัน (พิมลรัตน์ ไทยธรรมยานนท์, 2545) อาการชักเป็นสิ่งแสดงสิ่งแรกที่พบบ่อยเมื่อสมองเริ่มทำงานผิดปกติ หากปล่อยให้ทารกแรกเกิดชักอย่างรุนแรง ชักติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือชักซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่เรื่อยๆ จะเกิดการทำลายในเนื้อสมองของทารกไม่มากก็น้อย ดังนั้นการที่ทารกแรกเกิดมีอาการชักจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องพยายามหาสาเหตุเพื่อแก้ไขต่อไป
continue readingการดูแลทารกที่ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ
ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่จะได้รับการดูแลอยู่ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดเป็นเวลา 24 – 72 ชั่วโมงก่อนที่มารดาจะนำทารกกลับไปเลี้ยงดูที่บ้านเพื่อประเมินร่างกายและสังเกตอาการ ซึ่งพบว่าทารกแรกเกิดบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคือ ภาวะตัวเหลือง (Jaundice) หรือดีซ่าน ซึ่งภาวะดังกล่าวเกิดจาก ร่างกายทารกมีสารกลุ่มบิลิรูบิน (bilirubin)สูงขึ้นมากกว่าปกติ โดยในผู้ใหญ่ภาวะดีซ่านเป็นภาวะที่ผิดปกติเสมอแต่ในทารกแรกเกิดหลังคลอดใหม่ๆ โดยเฉพาะในสัปดาห์แรก ภาวะตัวเหลืองถือเป็นภาวะปกติทางสรีรวิทยาซึ่งเกิดขึ้นกับทารกแรกเกิดเกือบทุกคน โดยมีปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกมีภาวะตัวเหลืองได้แก่ มารดาเป็นโรคเบาหวาน มารดาได้รับยา oxytocin ในระหว่างการคลอด มารดาที่ได้รับยาสลบขณะคลอด มารดาและทารกมีเลือดไม่เข้ากัน (ABO incompatibility) ทารกบางรายที่ได้รับนมมารดา ทารกเพศชายโดยเฉพาะในแถบเอเชีย ทารกแรกเกิดที่มีรอยจ้ำเลือดหรือ cephalhematoma ทารกที่ได้รับน้ำนมน้อย ทารกที่คลอดโดยวิธีผ่าตัดออกทางหน้าท้อง ทารกคลอดก่อนกำหนดและมีความสามารถในการดูดกลืนไม่ดีและทารกที่ในครอบครัวมีประวัติการเกิดตัวเหลือง ดังมีการแบ่งชนิดของการเกิดภาวะตัวเหลืองไว้ดังนี้
continue reading